ผ่าฟันคุด รพ.ยันฮี ราคา ถอนฟัน ติดต่อรุ่ง 087-9152623


ฟันคุด เป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นในช่องปากได้ตามปกติหรือขึ้นได้เพียงบางส่วน ฟันซี่ที่พบบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามซี่สุดท้าย และฟันเขี้ยวบน เนื่องจากเป็นฟันที่ขึ้นช้ากว่าที่อื่นๆ ทำให้ไม่มีที่ว่างขึ้นได้ โดยปกติแล้วฟันกรามซี่สุดท้ายควรขึ้นเมื่ออายุ 16 – 22 ปี ถ้าปรากฏว่าเมื่ออายุถึงแล้วยังไม่พบฟันซี่นี้ ควรทำการถ่ายภาพรังสี เพื่อตรวจหาความผิดปกตินั้นแต่เนิ่นๆ และทำการผ่าฟันคุดออกก่อนที่จะมีอาการปวด

อันตรายของการปล่อยให้มีฟันคุด ถ้าไม่ผ่าออกในวัยอันควร
1.         ฟันคุดทำให้เกิดการอักเสบของเหงือก
ที่ปกคลุมฟันคุดอยู่และหมักหมมเศษอาหารทำให้มีกลิ่นเหม็นและเกิดบวม
2.        ฟันคุดทำให้เกิดปริทันต์อักเสบ
บริเวณฟันข้างเคียงและทำให้ฟันผุง่าย เนื่องจากเศษอาหารติดง่ายทำความสะอาดยาก
3.        ฟันคุดมีแรงดันต่อฟันซี่ข้างเคียง
ทำให้มีการละลายของรากฟันซี่นั้นๆ
4.        ฟันคุดทำให้เกิดการปวดบริเวณกระดูกขากรรไกร
เนื่องจากการติดเชื้อ หรือแรงกดดันต่อโพรงประสาทฟันที่มาหล่อเลี้ยงฟันที่ทอดยาวมาอยู่ใกล้ปลายรากฟันมากๆ บางครั้งทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ โดยไม่ทราบสาเหตุ
5.        ฟันคุดมีแรงดันทำให้เกิดการบิดเกของฟันข้างเคียง
ฟันซี่หน้า และซี่ถัดไป
6.        บริเวณฟันคุดเป็นจุดอ่อนให้ขากรรไกรหักง่าย
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับแรงกระแทก
7.        เยื่อหุ้มฟันคุดอาจทำให้เกิดถุงน้ำ (CYST) โตขึ้นเรื่อยๆ
และอาจเกิดมะเร็งกรามข้างตามมาได้ จะเห็นได้ว่าโทษของการทิ้งฟันคุดไว้ในช่องปากมีมากมาย ยิ่งทิ้งนานจะทำให้การผ่าฟันยากขึ้นเรื่อยๆ ปกติทันแพทย์จะแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกช่วงอายุระหว่าง 16 – 22 ปี ซึ่งผ่าได้ง่ายกว่าปกติ และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า



การักษา
คือ การผ่าตัดฟันคุดออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก โดยใช้ยาชาเฉพาะที่เท่านั้น ยกเว้นฟันเขี้ยวบนซึ่งอาจใช้วิธีจัดฟันร่วมด้วย เพื่อดึงฟันขึ้นมาในตำแหน่งที่ปกติ เพื่อความสวยงามของฟัน


ข้อปฏิบัติหลังการผ่าตัดในช่องปาก

1.        กัดผ้ากอซให้แน่นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังการถอนฟันหรือผ่าตัด
2.       ถ้าเลือดไหลไม่หยุด ห้ามอมน้ำแข็ง ควรประคบนอกปากบริเวณที่ถอนฟันหรือบริเวณ ที่ผ่าตัด
3.        ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใดๆ ในวันแรก วันที่ให้ใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือน้ำเกลืออุ่นๆ  บ้วนเบาๆ โดยเฉพาะภายหลังรับประทานอาหาร
4.        ในคนไข้เด็กที่ถอนฟันหน้า หลังถอนฟันจะยังมีฤทธิ์ยาชาอยู่ ผู้ปกครองควรระวังไม่ให้เด็กเผลอกัดริมฝีปาก จะทำให้เป็นแผลได้
5.        ให้แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ เพียงแต่ระวังแผลที่ถอนหรือผ่าตัด
6.        หากมีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด ตามแพทย์สั่ง
7.        ห้ามใช้นิ้วมือ ไม้จิ้มฟันแคะหรือดูดแผลเล่น
8.        ห้ามดื่มสุราของมึนเมา อาหารเผ็ดจัดหรือ ร้อนจัด
9.         ถ้ามีอาการบวม หรือรู้สึกผิดปกติควรกลับมาพบทันตแพทย์ตรวจ
10.      ถ้ามีการเย็บแผล พบทันตแพทย์ตัดไหม ภายหลังการผ่าตัด 7 วัน 

ค่ารักษา ฝันคุด                        3,000-5,000  บาท /  ซี่  (ราคาแล้วแต่ความยาก,ง่าย ในการผ่าตัด )


ยินดีบริการทำประวัติ นัดหมายแพทย์ จองคิวล่วงหน้า  
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.คุณรุ่ง 087-9152623

ปรับปรุงข้อมูล ราคา ล่าสุดวันที่  8/7/59

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น